วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เส้นทาง เชียงของ R3A


เส้นทาง เชียงของ R3A
เดินเครื่องมอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงราย ด้านการคมนาคมทางบกในเขต จ.เชียงราย ที่จะเชื่อมโยงเข้ากับโครงข่ายการคมนาคมในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจนั้น นายชาญเดช วงศ์เจริญรอง ผอ.สำนักงานทางหลวงที่ 2 ตำแหน่งที่ 2 กรมทางหลวง กล่าวต่อที่ประชุมว่า โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกในเขตเชียงรายที่กรมทางหลวงดูแลมีอยู่ 4-5 เส้นทางคือ
1. เส้นทางสายเชียงใหม่ – เชียงราย ซึ่งเป็นมอเตอร์เวย์ ระยะทาง 170 กม.นั้น ขณะนี้ออกแบบเสร็จแล้วอยู่ระหว่างการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะในปีงบประมาณ 47 จะได้รับการจัดสรรแน่นอน
2. เส้นทางเลี่ยงเมืองเชียงรายด้านตะวันตก ระยะทาง 20 กม. ได้สำรวจออกแบบแล้ว คาดว่าจะสามารถบรรจุเข้าแผนปี 48 ได้
3. เส้นทางสายเชียงราย -เชียงแสน สายใหม่ ซึ่งมีอยู่ 2 แนวทาง คือ จากทางแยก กม. 846 -บ้านสบกก ที่ตั้งท่าเรือแห่งเชียงแสนแห่งที่ 2 ระยะทาง 42 -45 กม.หากใช้แนวนี้จะใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น ประมาณ 1,600 กว่าล้านบาท แนวทางที่สองจากทางแยกร่องเสือเต้น เลียบไปตามแม่น้ำกก ระยะทาง 54 กม. จะใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 6,000 กว่าล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 1,600 กว่าล้าน ค่าที่ดิน 4,850 กว่าล้านบาท 4. ถนนเลี่ยงเมืองเชียงแสน ที่จะขยายเป็น 4 ช่องทางจราจร ภายใต้งบประมาณ 80 ล้านบาท และ 5 เส้นทางเลี่ยงเมืองแม่สาย ที่จะเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางท่าขี้เหล็ก – เชียงตุง-เมืองลา ของพม่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอยู่ ส่วนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ อ.เชียงของ เชื่อมกับถนนสายไทย-ลาว-จีนตอนใต้ นั้น ทางกรมทางหลวงได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก เอดีบี. ในการศึกษาออกแบบแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการ แต่ยังไม่มีการกำหนดจุดก่อสร้างที่ชัดเจน

ต่อยอดไฮสปีดเทรนเด่นชัย-เชียงราย ด้านโครงการก่อสร้างทางรถไฟจากเด่นชัย-เชียงรายนั้น ตัวแทนจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ที่จริงแล้ว รฟท.ได้ศึกษาและออกแบบก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และมีการออก พรฎ.เวนคืนที่ดินแล้ว แต่ระหว่างที่ยื่นของบประมาณก่อสร้างนั้น ทางรัฐบาลได้สั่งการให้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เส้นทางรถไฟสายนี้ ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่กว้างกว่าที่ไทยใช้อยู่เป็นลักษณะไฮสปีดเทรน สามารถวิ่งด้วยความเร็ว 100-250 กม./ชม. ให้เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟจากประเทศจีนด้วย จากการติดต่อประสานงานกับทางการจีน ทราบว่า รัฐบาลจีนไม่มีนโยบายที่จะก่อสร้างเส้นทางรถไฟผ่านประเทศพม่า แต่มีนโยบายที่จะสร้างทางรถไฟมาถึงบ่อเต็น พรมแดนจีน -ลาว และเส้นทางจีน-เวียดนาม ดังนั้นทาง รฟท. จึงกำหนดแนวทางก่อสร้างเส้นทางรถไฟเพิ่มเติมจาก จ.เชียงราย -ชายแดนไว้ 2 แนวทางคือ ไปทาง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย รองรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรม -ท่าเรือที่กำลังจะเกิดขึ้น อีกแนวทางหนึ่งจะสร้างจากเชียงราย – อ.เชียงของ เพื่อรอเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟจากจีนในอนาคต จีนสร้างเขื่อนกั้นน้ำโขงเพิ่มที่กอนเหล่ย นายนรินทร์ พานิชกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ยังได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาเส้นทางการคมนาคมทางน้ำผ่านแม่น้ำโขง จากจีน -ไทย ว่า เท่าที่เขาได้รับทราบข้อมูลจากทางการมณฑลยูนนานทราบว่า ในระยะนี้แม้ว่าจีนจะระเบิดแก่งในแม่น้ำโขงเสร็จสิ้นไปแล้วส่วนใหญ่ แต่ในเดือนเม.ย.47 และ 48 จะระเบิดกันอีก 2 ระลอก เพื่อขยายร่องน้ำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยจะทำในเขตสปป.ลาว แต่เป้าหมายของจีนจะระเบิดไปถึงแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว ขณะนี้เป็นเพียงระยะแรกเท่านั้น เขาบอกอีกว่า อย่างไรก็ตาม การเดินเรือในแม่น้ำโขง ขณะนี้ยังมีปัญหาเขตน้ำตื้นที่มีอยุ่ประมาณ 4 จุดอยู่ แต่ในอนาคตจะไม่มีปัญหานี้เกิดขึ้นอีกต่อไป เนื่องจากทางการจีนได้อนุมัติให้มีการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงเพิ่มอีก 1 จุดบริเวณท่าเรือกอนเหล่ย ซึ่งจะเป็นเขื่อนขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีนทีเดียว โดยใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี เสร็จปี 2550 หลังจากนั้นจะมีการผลิตกระแสไฟฟ้าส่งมาขายไทยด้วย และปล่อยน้ำให้เรือขนาด 200 - 500 ตันวิ่งขึ้นลงได้ตลอด

เส้นทางยุทธศาสตร์(ไทย-จีน)

เส้นทาง เชียงของ- ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-เชียงรุ่ง ถูกกำหนดให้สร้างขึ้น ด้วยความร่วมมือของ 3 ประเทศ คือ จีน ลาว ไทย และการสนับสนุนจาก ธนาคารพัฒนาเอเชีย(เอดีบี)เส้นทางสายนี้นับเป็นหนึ่งในสามเส้นทางสายยุทธศาสตร์ ของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion-GMS)ซึ่งได้เริ่ม

2.จัดตั้ง One Stop Services ภายในปี 2547 : - ด่านชายแดน เพื่อสนับสนุนการค้า (กรมศุลกากร / ตม. / อื่นๆ) - เขตอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนการลงทุน (กนอ. /กรมศุลกากร / ก.อุตสาหกรรม / BOI )
3. กำหนดนโยบายการใช้แรงงานต่างด้าวและความมั่นคงให้แล้วเสร็จในปี 2546 (สมช. /ก.แรงงาน / กต.)
4. กำหนดนโยบายด้านธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ : การใช้เงินท้องถิ่นและการส่งเงินกลับ ให้แล้วเสร็จในปี 2546 (ธปท.
5. ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ : โดยปรับการให้สิทธิประโยชน์ BOI สูงสุดภายใต้กฎหมายปัจจุบันให้แล้วเสร็จในปี 2546 และ เร่งศึกษากฎหมายรูปแบบเฉพาะเพื่อใช้ในระยะยาว (BOI / กนอ. / กรมโรงงาน /กรมศุลกากร)
6. ส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศโดยเฉพาะการร่วมทุนไทย-จีน : กำหนดทิศทางการลงทุนและเริ่มดำเนินการภายใน ปี 2546 (BOI / พาณิชย์ / กต.)
จัดตั้งกลไกการบริหารจัดการระยะแรก : ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ระดับชาติ คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายแดน ระดับพื้นที่ ศึกษาองค์กรปกครองพิเศษให้แล้วเสร็จภายในปี 2546 และตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด(มหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ระดับเขตนิคม คณะกรรมการบริหารเขตนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.)ระยะยาว : ปรับปรุงกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและนำไปใช้ ได้กับพื้นที่อื่น
แผนปฏิบัติการระยะสั้น 1-3 ปี 2546-2548
•เขตนิคมอุตสาหกรรม
•ท่าเรือเชียงแสน ท่าเรือเชียงของและสะพานข้ามแม่น้ำสาย
•วางระบบโครงสร้างพื้นฐาน
•ปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
•ประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรณี
•ปรับปรุงกฎหมาย และจัดตั้งกลไกบริหาร
•เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านปรับปรุงกฎระเบียบการค้า การลงทุน
•ศึกษาการจัดตั้ง Visa Free Zone
แผนปฏิบัติการ ระยะปานกลาง 3-5 ปี พ.ศ 2548-2550
•จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเชียงของ
•ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระยะ 2
•พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ระยะ 2
•วิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจและทรัพยากรร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน
•ยกร่างกฎหมายเฉพาะสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ
•เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านปรับปรุงกฎระเบียบการค้าการลงทุน (ต่อเนื่อง)
แผนปฏิบัติการ ระยะยาว 5-10 ปี 2550-2560
•สะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เชียงของ
•เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านปรับปรุงกฎระเบียบ การค้า การลงทุน (ต่อเนื่อง)
ผลตอบแทนโครงการ
สร้างฐานการผลิตใหม่นำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ โดยคาดว่าจะมีการลงทุนของภาคเอกชนในโรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า ธุรกิจการค้า และการท่องเที่ยว 20,000 ล้านบาท
การจ้างงานในพื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อมประมาณ 30,000 คน
เกิดการขยายตัวด้านการค้า และการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดน
เชื่อมโยงธุรกิจชุมชน (OTOP) สู่ตลาดระดับภาคและระหว่างประเทศ
แก้ไขปัญหาความยากจน และยกระดับคุณภาพชีวิต
เขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงรายถือเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของประเทศ ซึ่งเป็นโครงการนำร่องอันจะนำไปใช้ในพื้นที่ชายแดนอื่นที่มีศักยภาพต่อไป
เรื่องราวที่เกี่ยวเนื่อง
การพัฒนาพื้นที่ชายแดน"เชียงของ"

เชียงของ เป็นอำเภอหนึ่งที่ต้องเตรียมตัวเข้าสู่การพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์เมืองชายแดน และเป็นพื้นที่ ที่อยู่ในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย อันเป็นเมืองรองรับยุทธศาสตร์ระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ที่จะเชื่อมโยงเส้นทางการค้าการลงทุน การท่องเที่ยวเข้าด้วยกัน ทำให้อำเภอเชียงของปัจจับันอยู่ในช่วงการขยายเมือง และการสร้างโครงข่ายด้านการคมนาคม จึงมีโครงการพัฒนาหลายด้าน
ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

การก่อสร้างและขยายถนน 1. ถนนเลี่ยงเมือง (By pass) 2. ถนนเลียบน้ำโขง 3. ถนนสายลัดเชียงของ-เวียงแก่น4. เชื่อมถนนสายลัดกับถนนเลียบน้ำโขง และเชื่อมกับสะพาน หากมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง5. การขยายพื้นที่เขตชุมชนเมือง 6. การเพิ่มกำลังการผลิตและปรับปรุงระบบประปา ไฟฟ้า และระบบกำจัดน้ำเสีย ขยะ และการระบายน้ำ การพัฒนาสู่การเป็น Gate way ทั้งทางบก-ทางน้ำ 1. ทางบกภายในประเทศ ปรับปรุง เชื่อมเส้นทาง เชียงของ-เชียงแสน-เวียงแก่น(สายลัด) เป็นเส้นทางเลียบแม่น้ำโขงตลอดสาย (อยู่ในขั้นตอนการสำรวจเส้นทางการก่อสร้าง)2. ทางบกระหว่างประเทศ การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง เพื่อเชื่อมเส้นทาง เชียงของ-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น-เชียงรุ่ง รวมระยะทาง 250 กม.(เริ่มก่อสร้างต้นปี 2546 โดยได้งบสนับสนุนจากเอดีบี ไทย และจีน ) 3. เชื่อมเส้นทาง สายเวียงแก่น-เชียงของ (สายลัด) กับ ถนนเลียบน้ำโขง สะพานข้ามไทย-ลาว กับถนนสายเชียงของ-เชียงแสน เข้าด้วยกัน 4. ทางน้ำ พัฒนาการคมนาคมทางน้ำในแม่น้ำโขง เพื่อเดินเรือสินค้า และเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ศูนย์กลางการค้าชายแดน1. สร้างโกดังสินค้า บริเวณท่าเทียบเรือน้ำลึก เพื่อเป็นจุดรับส่งสินค้า ที่ส่งออกและน้ำเข้า เพื่อให้มีการขนถ่ายสินค้าได้สะดวก และปลอดภัย 2. สร้างอาคารสำนักงานต่าง ๆ บริเวณท่าเทียบเรือ ประกอบด้วย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานด่านศุลกากร ด่านตรวจพืช สำนักงานการท่องเที่ยว 3. พัฒนาบริเวณเท่าเทียบเรือ ให้สถานที่พักผ่อน จุดให้บริการข้อมูลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยวของอำเภอเชียงของ และสปป.ลาว

พัฒนาการท่องเที่ยวการพัฒนาเส้นทาง1. เชื่อมเส้นทางอำเภอเชียงของและอำเภอใกล้เคียง คือ ถนนเชื่อมทางลัด เวียงแก่น-เชียงของ- เชียงแสน โดยการเชื่อเส้นทางเลียบน้ำโขง ทำให้เป็นถนนที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และมีแหล่งท่องเที่ยวตามแนวเส้นทาง2. การพัฒนาเชียงของให้เป็นประตูการท่องเที่ยวสู่ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนบน(ลาว จีน) ถนนสายเชียงของ - ห้วยทราย - หลวงน้ำทา - บ่อเต็น - เชียงรุ่ง โดยการแผนพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอนี้ จะดำเนินการภายใต้แผนแม่บทเพื่อปรับปรุงเมืองชายแดน เพื่อการท่องเที่ยว ของ ททท. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว1. ปรับปรุงสถานที่ - พัฒนาท่าจับปลาบึก และแหล่งแพร่พันธุ์ปลาบึกบ้านหาดไคร้ใช้เป็นที่พักผ่อนสาธารณะ - ปรับปรุงห้วยทรายมาน ให้เป็นจุดชมวิวสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้เส้นทาง เชียงแสน- เชียงของ - พัฒนาหมู่บ้านวัฒนธรรมน้ำโขง โดยมีการพัฒนาหมู่บ้านนำร่องของโครงการ คือ บ้านหาดบ้าย ตำบลริมโขง ซึ่งเป็นหมู่บ้านไทลื้อ โดยจัดเป็น "หมู่บ้านอนุรักษ์วัฒนธรรมและเป็นศูนย์จำหน่ายหัตถกรรมพื้นบ้าน" (ผ้าทอ) 2. สร้างและขยายแหล่งท่องเที่ยว
- สร้างพิพิธภัณฑ์ชีวิตปลาบึกและปลาแม่น้ำโขง - พัฒนาน้ำตกห้วยแม็ง และน้ำตกห้วยตอง (จัดหางบประมาณสนับสนุน) - จัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลการท่องเที่ยวอำเภอเชียงของ โดยสร้างระบบข้อมูลท่องเที่ยวให้เป็นปัจจุบันโดยใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บและบริการข้อมูล จัดตั้ง information booth ตามจุดต่าง ๆ (จัดหางบประมาณสนับสนุน)
ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้านประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ1. ปรับปรุงคูเมืองเวียงเชียงของ สภาพเดิมของเชียงของเคยเป็นเมืองเก่าที่มีคูเมืองล้อมรอบ ตามแบบการสร้างเมืองในอดีต ซึ่งได้สร้างซุ้มประตูและคูเมืองตามแนวเดิมบริเวร บ้านเวียงแก้ว ตำบลเวียง2. โครงการ"เมืองน่าอยู่" เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีลักษณะคือ มีความเป็นระเบียบ มีความสบายใจในการอยู่อาศัย ทำกิจกรรมและพักผ่อน มีภาพรวมในการวางผังเมืองที่ชัดเจน มีเอกลักษณ์ของตนเอง มีความงามในเชิงศิลปะ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีความปลอดภัยจากมลภาวะ มีความเป็นมิตรของผู้คน
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2244 16 ส.ค. - 18 ส.ค. 2550
ไทยสอบตกต่อยอด'R3a' โครงการรองรับล้วนร้องเพลงรอ
การก่อสร้างถนนสายไหม เชื่อมโยงไทย-สปป.ลาว-สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือที่รู้จักกันในชื่อถนนสายอาร์3เอ(R3a) ในปัจจุบันถือว่ามีความคืบหน้ามาก โดยการก่อสร้างถนนทั้ง 3 ตอน ตอนที่ 1 ซึ่งประเทศไทยรับผิดชอบและว่าจ้างหจก.แพร่ธำรงวิทย์ ก่อสร้างระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ตอนที่ 2 ธนาคารพัฒนาเอเชียหรือ เอดีบี.สนับสนุนงบประมาณให้สปป.ลาวดำเนินการก่อสร้าง โดยว่าจ้างให้ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนา จำกัด ทำการก่อสร้างในระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ส่วนตอนที่ 3 ซึ่งประเทศจีนสนับสนุนการก่อสร้าง การก่อสร้างถนนทั้ง 3 ตอนนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2550 อย่างแน่นอน
ในการต่อยอดต่างๆ ของถนนสายอาร์3เอ ถือว่าประเทศจีนมีการเตรียมพร้อมมากที่สุด บริเวณบ่อหาน-บ่อเต็น ซึ่งเป็นเมืองชายแดนระหว่างประเทศจีนกับสปป.ลาว นักลงทุนจากประเทศจีนได้มีการลงทุนเพื่อรองรับการขนส่งและกระจายสินค้าอย่างคึกคัก มีการลงทุนจัดสร้างศูนย์กระจายสินค้าขึ้นแล้ว บริษัทลอจิสติกส์จากประเทศจีนยังได้มีการลงทุนเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมที่จะขนส่งสินค้า ด้วยการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับสปป.ลาว นอกจากนั้นนักลงทุนจีนยังได้ลงทุนก่อสร้างโรงแรมและกาสิโนในพื้นที่นี้ด้วยหลายแห่ง และไม่เฉพาะแต่ที่เมืองชายแดนระหว่างจีนกับสปป.ลาวเท่านั้นที่มีการเคลื่อนไหวในเรื่องของการลงทุน เมืองที่อยู่ลึกเข้ามาอย่างเช่น แขวงหลวงน้ำทา กลุ่มทุนจากประเทศจีนก็มีการลงทุนสร้างโรงแรมและเปิดกิจการลอจิสติกส์กันอย่างคึกคัก
สารพัดโครงการรอแจ้งเกิด
ต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับความพร้อมของฝ่ายไทย โครงการต่างๆ ในพื้นที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย หลายโครงการจนถึงบัดนี้ ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนการก่อสร้างถนนสายนี้ก็จะแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ ยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจน โดยโครงการที่ดูจะเป็นความหวังของชาวเชียงของ คือ โครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งตามแผนเดิมจะมีการก่อสร้างที่ตำบลศรีดอนมูล อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้จนแล้วเสร็จ แต่ได้มีการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่รวมทั้ง ส.ส.เชียงราย หลายคนก็ใม่เห็นด้วย แต่พอย้ายมาที่อำเภอเชียงของระยะเวลากว่า 3 ปีที่ผ่านมายังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ยังไม่มีผลการศึกษาใดๆ
โครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมเชียงของที่ถึงแม้ว่าจะมีนักลงทุนจากประเทศจีนเดินทางมาดูสถานที่แล้วหลายครั้ง กลับเป็นโครงการที่มีความชัดเจนน้อยที่สุด แถมทีท่าจากนักลงทุนจีนก็เริ่มเบนความสนใจที่จะไปลงทุนในประเทศ สปป.ลาว โดยได้มีการทำสัญญาเช่าพื้นที่จำนวนประมาณ 60,000 ไร่ที่เมืองต้นผึ้งด้านตรงข้ามกับสามเหลี่ยมทองคำ อำเภอเชียงแสนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สะพานข้ามโขงรองบปี51
โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง หรือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ที่อำเภอเชียงของ ปัจจุบันมีการกำหนดจุดก่อสร้างที่แน่นอนแล้วว่า คอสะพานฝั่งไทยจะอยู่ที่หมู่บ้านปากอิงเหนือ ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ ส่วนฝั่ง สปป.ลาว คือ บ้านดอน เมืองห้วยทราย กรมทางหลวงไทยได้ดำเนินการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะได้ประกวดราคาก่อสร้าง จุดก่อสร้างสะพานเชียงของ-ห้วยทราย ในฝั่งไทยอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงของประมาณ 10 กิโลเมตร ส่วนฝั่ง สปป.ลาว อยู่ห่างจากตัวเมืองห้วยทราย ประมาณ 12 กิโลเมตร เพื่อรองรับการขยายของตัวเมืองทั้งสองฝั่งในอนาคต จุดที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง ความกว้างของแม่น้ำโขงกว้างเพียง 400 กว่าเมตร ความกว้างของสะพานออกแบบย่อส่วนลงเหลือ 13.7 เมตรจากเดิมออกแบบให้กว้าง 16.7 เมตร ทำให้ลดค่าใช้จ่ายจากเดิมที่กำหนดเอาไว้กว่า 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหลือเพียงประมาณ 31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ความคืบหน้าล่าสุดหลังการเดินทางมาตรวจสถานที่ก่อสร้างของนายปิยะพันธ์ จำปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม คาดว่าจะมีการบรรจุงบประมาณปี 2551 เริ่มต้นการก่อสร้างและใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 ปีแล้วเสร็จประมาณปี 2554
โครงการที่เกี่ยวเนื่องกับสะพานข้ามแม่น้ำโขง กรมศุลกากรได้ทำหนังสือถึงกรมทางหลวงเพื่อขอให้จัดสรรที่ดินจำนวน 400 ไร่ เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างด่านศุลกากรที่ครบวงจร สำหรับการขนส่งสินค้าผ่านแดนตามหลักสากล ภายในโครงการจะประกอบด้วยลานจอดและเปลี่ยนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ คลังสินค้า ซึ่งโครงการของกรมศุลกากรเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะสามารถเชื่อมโยงกับนิคมอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น แต่ขณะนี้ความคืบหน้าของเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนนักว่ากรมทางหลวงสามารถจัดสรรพื้นที่ให้กรมศุลกากรได้แล้วหรือไม่ เพราะกรมศุลกากรต้องทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลด้วยเช่นกัน
ถัดจากโครงการต่างๆ ในพื้นที่อำเภอเชียงของ ยังมีโครงการอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างถนนที่จะเชื่อมโยงระหว่างอำเภอเชียงของกับอำเภอเมืองเชียงราย โครงการแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นโครงการขยายถนนสายเชียงของ-บ้านต้าให้เป็นถนนสี่ช่องทางจราจร ส่วนตอนที่ 2 เป็นโครงการตัดถนนสายใหม่จากบ้านต้า-หัวดอย(เชื่อมกับถนนสายเชียงราย-เทิงในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย) ทั้ง 2 โครงการแขวงการทางเชียงราย 1 และแขวงการทางเชียงราย 2 ได้ดำเนินการออกแบบมาแล้วประมาณ 2 ปี แต่ว่าการจัดสรรงบประมาณยังเป็นปัญหา เนื่องจากต้องใช้งบประมาณสูงไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท จึงทำให้โครงการนี้ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของงบประมาณ ท่าเรือเชียงของ2ร้องเพลงรอ
และเนื่องจากจังหวัดเชียงรายจัดพื้นที่อำเภอชายแดน 3 อำเภอ คือแม่สาย-เชียงแสน-เชียงของ เป็นพื้นที่สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเชียงราย กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี มีโครงการจะก่อสร้างท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ขึ้นที่สบกก ตำบลบ้านแซว อำเภอเชียงแสน โดยกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีได้มีการศึกษาและออกแบบเสร็จมาตั้งแต่ปี 2547 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 1 ปี แต่ว่าที่ผ่านมาไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนสูงถึงประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท เมื่อโครงการก่อสร้างท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 2 ล่าช้าออกไป มีผลทำให้โครงการขยายถนนเป็นสี่ช่องทางจราจรช่วงระหว่างแม่จัน-เชียงแสน ต้องล่าช้าออกไปด้วย และนอกจากนั้นยังมีโครงการที่จะตัดถนนสายใหม่แนวถนนในโครงการนี้เริ่มจากตำบลบ้านแซว-ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน-ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน เชื่อมกับถนนพหลโยธินที่ตำบลท่าสุด อำเภอเมืองเชียงราย โครงการนี้ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ต้องใช้เงินในการเวณคืนที่ดินและก่อสร้างสูงประมาณ 500 ล้านบาท แม้ว่ากรมทางหลวงชนบทจะได้ศึกษาและออกแบบจนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งอาจจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ท่าเรือเชียงแสนแห่ง 2 ยังไม่มีการก่อสร้างนั่นเอง
แหล่งข่าวคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศไทยและจังหวัดเชียงรายเสียโอกาส โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับการเตรียมพร้อมของทางการจีน ซึ่งถึงวันนี้มีความพร้อมมาก ถนนเสร็จเมื่อไรสามารถที่จะเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ลงสู่ใต้ของประเทศจีนได้ทันที แต่เมื่อหันมาดูยุทธศาสตร์บุกจีนตอนใต้ของไทยแล้ว ทุกวันนี้ยังถือว่าไม่มีการตอบสนองจากภาครัฐโดยเฉพาะรัฐบาล เนื่องจากโครงการต่างๆ ถูกแช่แข็งงบประมาณเป็นจำนวนมาก สะพานข้ามแม่น้ำโขงเองก็ยังไม่มีใครสารมารถที่จะชี้ชัดได้อย่างชัดเจนว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณแน่นอนเมื่อไร และเมื่อยิ่งมองถึงนิคมอุตสาหกรรมเชียงของจิ๊กซอว์สำคัญก็ยิ่งลางเลือน
ถึงวันนี้...การเดินหน้าเตรียมความพร้อม เพื่อต่อยอดจากถนนอาร์3เอ ส่วนใหญ่จะเป็นภาคเอกชนที่ตัดสินใจนำร่องไปก่อน เพราะหากรอช้ากว่านี้ เค้กก้อนนี้ก็อาจจะถูกนักลงทุนจีนหยิบชิ้นปลามันไปก็เป็นได้
เอกชนไทยต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าให้คะแนนกับภาครัฐของไทยเรื่องการเตรียมความพร้อมรองรับ ถือว่า สอบตก
ฟันธง R3aเชื่อม"ไทย-ลาว-จีน"เสร็จ100%ปีนี้ บูมเส้นทางการค้า-ขนส่งรอสะพานข้ามโขง 4ผู้จัดการ 2007-05-13 18:56:00ศูนย์ข่าวภาคเหนือ - ถนนเชื่อมไทย-ลาว-จีน (R3a)ใกล้เสร็จสมบูรณ์ 100% คาดส่งมอบงานกันได้ไม่เกินปลายปีนี้ เชื่อกระตุ้นกิจกรรมการขนส่งคึกคักเต็มที่ แม้ต้องรอสะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 เชื่อมเชียงของ-ห้วยทรายอีก 2-3 ปีก็ตาม ล่าสุดผู้ว่าฯเชียงราย เตรียมเพิ่มแพขนานยนต์รองรับ Logistic คุนหมิง-กรุงเทพฯ ก่อน พร้อมเชื่อมั่นการค้าผ่านเชียงของในอนาคตขยายตัวแบบทวีคูณแน่ นายวรงค์ วงศ์วรกุล กรรมการผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่ธำรงวิทย์ หนึ่งในกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างเส้นทางสาย R3 หรือที่เรียกกันติดปากว่า ถนน R3a จากเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว - บ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ระยะทาง 250 กิโลเมตร(กม.) เปิดเผยว่า หจก.แพร่ธำรงวิทย์ ได้ร่วมกับบริษัทน้ำทา ก่อสร้าง จำกัด ของนายคำเพิง ทองซะบา กลุ่มผู้รับเหมาท้องถิ่นของสปป.ลาว เข้าประมูลโครงการรับเหมาก่อสร้างเส้นทางช่วงเมืองห้วยทราย - เวียงภูคา แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ระยะทาง 84 กม.และเส้นทางในตัวเมืองบ่อแก้ว - ถนนเลี่ยงเมืองอีก 15 กม. มูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 1,086 ล้านบาท
ทั้งนี้ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 - มิถุนายน 2550 รวมระยะเวลา 33 เดือน ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ส่วนของถนน R3a ตลอดทั้งสาย ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.)ล่าสุดขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 93% เหลือเพียงงานตีเส้นจราจร - ติดตั้งป้ายสัญญาณจราจร ตลอดทั้งสาย และงานบดอัด-ลาดแอสฟัลต์ อีกประมาณ 20 กม.เท่านั้น เชื่อว่าภายในวันที่ 20 พฤษภาคม 50 จะเสร็จสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ได้มีการขยายอายุสัญญาออกไปอีก 10 เดือน เพื่อปรับระดับความลาดชันของเส้นทาง ที่บางจุดมีความชัน 13% เพื่อให้มีความลาดชันไม่เกิน 10%ตลอดทั้งสาย ตามที่บริษัทที่ปรึกษากำหนด ซึ่งในส่วนนี้ หจก.แพร่ธำรงวิทย์ คาดว่า จะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 6-8 เดือน โดยเชื่อว่าโครงการปรับปรุงถนนในช่วงที่อยู่ในความรับผิดชอบจะเสร็จสมบูรณ์ 100%ภายในเดือนตุลาคม 2550 นี้อย่างแน่นอน ขณะที่ถนน R3a ช่วงที่ 2 จาก กม.ที่ 84-260.8 (เวียงภูคา แขวงบ่อแก้ว - บ้าน Nam Lung แขวงหลวงน้ำทา) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่บริษัทนวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างนั้น จากการสำรวจของ "ผู้จัดการรายวัน" พบว่า จนถึงขณะนี้การก่อสร้างเกือบเสร็จสมบูรณ์เช่นกัน เหลือเพียงระยะสุดท้ายที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการตัดเส้นทาง บดอัด ลาดยาง อีกประมาณ 20 กม. โดยถนนช่วงนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2547 สิ้นสุดมีนาคม 2550 แต่ก็ได้รับการขยายเวลาออกไปอีก 10 เดือนเพื่อปรับระดับความลาดชันไม่ให้เกิน 10% ส่วนถนนช่วงที่ 3 หรือแพกเกจ C ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลจีน จากบ้าน Nam Lung - บ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา (ชายแดน สปป.ลาว-จีน) หรือจาก กม.160.8 - 228.3 ที่กลุ่มผู้รับเหมาจากจีน เข้ามาดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2547 เสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งนายพมเมือง มอนจันดี รองหัวหน้าแผนกขัวทาง แขวงหลวงน้ำทา บอกว่า เดิมถนนช่วงนี้จะสิ้นสุดระยะเวลารับประกัน และทำพิธีส่งมอบให้แก่สปป.ลาวในเดือนนี้ (พฤษภาคม 2550) อย่างไรก็ตามทางรัฐบาล สปป.ลาว ได้ขอให้จีน ขยายเวลารับประกันโครงการออกไปอีก 1 ปี หรือกำหนดรับมอบ-สิ้นสุดเวลารับประกันในเดือนพฤษภาคม 2551 รองหัวหน้าแผนกขัวทาง แขวงหลวงน้ำทา บอกว่า หากถนนเส้นนี้เสร็จสมบูรณ์ทั้ง 3 ช่วง จะทำให้การเดินทางจากเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (ชายแดนติดกับ อ.เชียงของ จ.เชียงราย - เมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ติดกับ Mahan เขตเมืองลา สิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน จีน) ใช้เวลาเดินทางเพียง 5-6 ชั่วโมงเท่านั้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลา 1-2 วัน ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เกิดกิจกรรมการขนส่งทั้งสินค้า - คน อย่างคึกคักแน่นอน
ขณะที่นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย บอกว่า หลังจากถนน R3a เสร็จสมบูรณ์ในปีนี้ ก็จะเชื่อมต่อกับสถานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ภายใต้งบประมาณ 1,600 ล้านบาท ที่ไทย-จีน ตกลงที่จะสนับสนุนฝ่ายละ 50% ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดจุดก่อสร้างแล้วโดยฝั่ง สปป.ลาว จะอยู่ที่บริเวณบ้านดอนขี้นก (กม.9) เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ฝั่งไทยจะอยู่บริเวณบ้านดอนมหาวัน ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย ห่างจากตัวเมืองเชียงของประมาณ 10 กม.เศษ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2553 โดยประมาณ ผู้ว่าฯเชียงราย บอกอีกว่า หากสะพานแห่งนี้แล้วเสร็จ เชื่อมต่อเข้ากับถนน R3a จะทำให้การค้าชายแดนที่เชียงของ คึกคักขึ้นอย่างมาก เพราะจีนมุ่งที่จะขนส่งสินค้าตามถนนR 3 a อันเป็นถนนเชื่อมคุนหมิง-กรุงเทพฯ ขณะที่จังหวัดเชียงรายจะผลักดันให้มีการพัฒนาระบบการค้าที่เชียงของขนานใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องการเพิ่มจำนวนแพขนานยนต์เพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าชายแดนที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ระหว่างที่สะพานยังก่อสร้างไม่เสร็จ รวมทั้งการพัฒนาโกดังสินค้า ระบบลอจิสติกส์ต่างๆ เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต ไปพร้อมๆ กันด้วย นายอมรพันธุ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก็มีโครงการจะสร้างศูนย์ราชการบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำโขงไว้แล้ว ส่วนถนนในจังหวัดที่จะเชื่อมกับถนนและสะพาน ก็มีโครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องทางจราจร จากอำเภอเมืองเชียงราย - เชียงของ โดยแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกจากบ้านหัวดอย อำเภอเมือง ไปยังบ้านต้า อ.ขุนตาล ใช้งบประมาณปี 2550 และจากบ้านต้าไปจนถึงเชียงของ จะเป็นงบฯผูกพันในปีต่อไป สำหรับการค้าชายแดนที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย เดิมมีมูลค่าการค้ารวมปีละประมาณ 700-800 ล้านบาท แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ มูลค่าการค้าได้ขยายตัวต่อเนื่อง เมื่อในปีงบประมาณ 2549 มีมูลค่าทั้งสิ้นเกือบ 2,000 ล้านบาท โดยแยกเป็นการส่งออกประมาณ 1,500 ล้านบาท และนำเข้าประมาณ 500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 48 ถึง 30% ทั้งภาครัฐและเอกชนของจังหวัดเชียงรายเชื่อว่า การค้าด้านนี้จะขยายตัวแบบทวีคูณทันทีที่ถนน R3a เสร็จ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น